การปฎิวัติของราษฎรยุคสยามในสมัยรัชกาลที่7

เช้าวันที่24มิถุนายน สิ่งที่ได้เกิดขึ้นในเช้าวันนั้นเอาเข้าจริงๆก็เกิดจากการวางแผนที่ใจกล้ามากๆคือการลวงทหารจากหน่วยต่างๆไปกองไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นพันๆนาย

โดยใช้วิธีทั้งหมดให้ทหารทั้งหมดออกมาเพราะเข้าใจว่ามีการกบฎเกิดขึ้นโดยอาศัยแค่บารมีเท่าที่จะมีอยู่ พระยาทรงสุรเดช พระยาพหล และ พระประศาสน์ บุกเข้าไปกรมทหารม้าที่1แบบไม่ให้ใครตั้งตัวรีบเรียกทหารขึ้นรถรีบขนปืนและนำขบวนรถเกาะออกมาในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงสมทบกับทหารเรือที่ใช้วิธีเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีรักเรียนนายร้อยที่พระยาทรงสุรเดชใช้ความเป็นอาจารย์นัดหมายไว้และทหารฝึกใหม่ในกรมทหารช่างโดยไปบอกว่าให้ตื่นเช้ามาเข้าฝึกหัดที่จุดนัดหมายด้วย พระยาพหลที่ได้เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติได้ขึ้นเวทีและอ่านประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองขอให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายและกล่าวถึงข้อเสียของระบอบเก่าว่าเป็นระบอบที่ใครจะออกเสียงคัดค้านย่อมมิได้การปกครองแบบนี้จะปล่อยให้ประชาชนเผชิญกับเศรษฐกิจและการภาษีโดยลำพังและไม่ได้ให้บ้านเมืองดีขึ้นเลย

ซึ่งอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นต้องทำให้สำเร็จก็คือการมีองค์ประกันหรือการจับตัวประกันนั่นแหละเพราะถ้าไม่มีองค์ประกันก็คงไม่มีเครื่องมือต่อรอง

องค์ประกันอันดับหนึ่งที่ไม่มีไม่ได้ก็คือกรมพระนครสวรรค์วรพินิตซึ่งเป็นผุ้ที่มีอำนาจมากที่สุดในพระนครรองจากพระเจ้าอยู่หัวเพราะกรมพระนครสวรรค์นั้นเป็นผู้คุมกำลังทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารเคยดำรงตำแหน่งเป็นทั้งเสนาธิการทหารบกเสนาบดีกระทนงทหารเรือเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและได้ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ท่านได้มีศักดิ์เป็นคุณปู่ของอดีตผู้ว่า กทม. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์บริพัตร

สรุปว่าในวันนั้นมีการจับกุมบุคคลสำคัญและเชิญเจ้านายมาประทับที่พระที่นั่งอนันตสมาคมทั้งสิ้น25คนส่วนบทบาทของพลเรือนทั้งนายประยูร ภมรมนตรี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค ก็คืออเข้ายึดกรมไปรษณีย์ ตัดสายโทรเลขยึดการสื่อสารเอาไว้เพื่อความได้เปรียบ

ซึ่งกว่าที่ข่าวจะไปถึงวังไกลกังวลความได้เปรียบก็อยู่กับฝ่ายคณะราษฎรแล้วช่วงบ่ายคณะปฏิวัติเริ่มแจกจ่ายแถลงการณ์ที่ นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เขียนขึ้นสิ่งนี้เรียกว่าประกาศราษฎรฉบับที่หนึ่งได้มีเนื้อหาย้ำเตือนว่าต่อไปนี้ประเทศสยามเป็นประเทศของราษฎรไม่ใช่ของใครเพียงคนหนึ่งอีกต่อไป

การเปลี่ยนแปลงก็เสร็จสมบูรณ์เมื่อคณะราษฎรได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลในหลวงรัชกาลที่7พราะบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอัญเชิญมาเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้กฎหมายเมื่อพระองค์เห็นด้วยกับแนวทางการปกครองนี้และทรงแจ้งให้ราบว่าพระองค์มีความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่เหมือนกัน

โดยจะเป็นพระมหากษัตริย์ตามพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน

 

ได้รับการสนับสนุนโดย  dewabet